หน้าเว็บ

Part 2 - paper quilling

 

ขั้นตอนการเรียนรู้ในครั้งที่ 2 
ให้นักเรียนเรียนรู้ ขั้นตอนการทำงาน 
จากข้อมูลและวีดีโอ



     1.รู้จักอุปกรณ์ม้วนกระดาษที่แตกต่างกัน อุปกรณ์คือไม้สล็อต เข็มคิลลิ่งหรือวัสดุปลายแหลม ไม้สล็อตเหมาะสมสำหรับมือใหม่ ส่วนเข็มคิลลิ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ชิ้นงานสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น คุณอาจใช้ไม้จิ้มฟันหรือเข็มหมุดก็ได้
     1.1 ไม้สล็อต เป็นอุปกรณ์แท่งบางๆ คล้ายแท่งดินสอ มีช่องอยู่ที่ปลาย ข้อเสียอย่างหนึ่งของไม้สล็อตคือทำให้เกิดรอยยับตรงกลางกระดาษบริเวณที่สอดกระดาษเข้าไปตรงหัวของไม้สล็อต อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทดลองสำหรับมือใหม่ที่ลงมือม้วนกระดาษ
     1.2 เข็มคิลลิ่ง อุปกรณ์ชิ้นนี้ใช้ยากกว่าแต่ผลงานที่ออกมาจะไม่มีรอยยับ (แปลว่าชิ้นงานจะดูเรียบร้อยมากขึ้น) และม้วนเป็นทรงที่สวยงาม หรืออาจจะใช้ไม้จิ้มฟันแทนกันก็ได้





      2.การทำหรือซื้อแถบกระดาษเอง แน่นอนว่าศิลปะการม้วนกระดาษจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกระดาษที่ใช้สร้างผลงาน ผู้ม้วนกระดาษต้องใช้แถบกระดาษบางๆหลากสีสัน ม้วนด้วยอุปกรณ์สร้างสรรค์ซึ่งผลงานที่ออกมาจะเป็นในรูปแบบต่างๆ ผู้สร้างสรรค์สามารถทำแถบกระดาษได้ด้วยการตัดกระดาษเป็นแถบขนาดเท่าๆ กัน ประมาณ 3-10 มม. หรือในปัจจุบันสามารถซื้อแถบกระดาษที่ตัดไว้เรียบร้อยแล้วก็ได้ ความยาวของแถบกระดาษขึ้นอยู่กับรูปทรงที่ผู้สร้างสรรค์จะทำ






      3.การทดลองม้วนกระดาษ นักเรียนทดลองม้วนกระดาษแบบธรรมดาๆ สักกองหนึ่งดูก่อน เริ่มด้วยสอดปลายด้านหนึ่งของแถบกระดาษเข้าไปในช่องเล็กๆ ในอุปกรณ์ม้วนกระดาษ ตรวจดูว่ากระดาษติดแน่นและเรียบร้อยดี จากนั้นเริ่มหมุนอุปกรณ์ในทิศทางที่ออกไปจากตัว กระดาษจะพันรอบๆ ปลายอุปกรณ์ม้วนกระดาษ เกิดเป็นขดกระดาษขึ้นมา หมุนอุปกรณ์ต่อไปจนแถบกระดาษทั้งเส้นพันเป็นขดอยู่รอบอุปกรณ์ม้วนกระดาษ 


ข้อควรระวัง : หากจะลองม้วนกระดาษด้วยเข็มคิลลิ่งหรือไม้จิ้มฟัน ทำให้นิ้วมือชื้นเล็กน้อยจากนั้นพันปลายข้างหนึ่งของแถบกระดาษรอบเข็มหรืออุปกรณ์อย่างอื่น ใช้นิ้วหัวแม่โป้งกับนิ้วชี้กดให้ติดแล้วม้วนกระดาษไปรอบๆเข็ม



     4.การติดกระดาษเข้าด้วยกัน เมื่อขดกระดาษมีขนาดใหญ่ เล็กตามที่ต้องการแล้ว ติดกาวที่ปลาย ควรใช้กาวเพียงเล็กน้อย ใช้ไม้จิ้มฟัน เข็มเจาะกระดาษ หรือเข็มหัวรูปตัวทีป้ายกาวจำนวนเล็กน้อยบริเวณด้านในของปลายแถบกระดาษ (ส่วนท้ายกระดาษ) กดไว้ให้ติดกันประมาณ 10-20 วินาที

ข้อควรระวัง : กาวทั่วไปอย่างเช่นกาวลาเท็กซ์ใช้ได้ดีกับการม้วนกระดาษ หรืออาจลองกาวสำหรับงานฝีมือ (tacky glue) ที่แห้งเร็วกว่ากาวทั่วไป หรืออาจลองใช้กาวตราช้างที่แห้งเร็วและยึดติดกระดาษได้เป็นอย่างดี


     




    5.การจัดขดกระดาษให้เป็นรูปทรงตามต้องการ ซึ่งจะต้องทำขั้นตอนนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ทำอยู่ ผู้สร้างสรรค์อาจจะอยากจัดการกับจุอสิ้นสุดของขดกระดาษเป็นทรงรีเพื่อให้กลายเป็นใบไม้ คุณอาจจัดขดกระดาษเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมสำหรับเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ก็ได้ ขดกระดาษเหล่านี้สามารถแปลงร่างเป็นรูปอะไรก็ได้ตามต้องการ








     6.การติดชิ้นงานทั้งหมดเข้าด้วยกัน คำเตือนคือ ควรใช้กาวแต่พอประมาณ กาวอาจทำให้กระดาษเปื่อยหรือทำให้ผลงานของผู้สร้างสรรค์บิดงอผิดรูป ผู้สร้างสรรค์ไม่ต้องกังวลว่ากาวที่ใช้จะน้อยเกินไป โดยการติดกาวนั้น ให้ผู้สร้างสรรค์จำไว้ว่าให้จับหรือกดชิ้นส่วนที่ทากาวไว้ 10-20 วินาที





       7.ผลงานเสร็จสมบูรณ์และทดลองประดิษฐ์ผลงานรูปแบบต่างๆ โดยผู้สร้างสรรค์อาจจะลองหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือไปที่ร้านงานฝีมือแล้วซื้อหนังสือแพทเทิร์นการม้วนกระดาษ เสิร์ชอินเตอร์เน็ตหาแพทเทิร์นการม้วนกระดาษ หรือลองทำตามแพทเทิร์นต่างๆ ที่สามารถหาข้อมูลได้อย่างง่าย






รูปจาก https://www.google.co.th/search?rlz=1C1SQJL_thTH814TH814&biw=1366&bih=608&tbm=isch&sa=1&ei=cfudW-zhEMHvATb6YKwDQ&q=%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9&oq=%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9&gs_l=img.3..35i39k1j0l6.286598.290714.0.290993.11.11.0.0.0.0.156.1002.9j2.11.0....0...1c.1.64.img..0.9.840...0i7i30k1j0i8i7i30k1.0.G8iAYRWNfW4#imgdii=XxrbRLeSr7uddM:&imgrc=sSeahhq4wobynM:





วีดีโอการสร้างสรรค์ผลงานอย่างง่าย

  



หรือ เข้าไปชมที่ https://www.youtube.com/watch?v=wULr0mYYr8c&t=188s

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น