หน้าเว็บ

องค์ประกอบของการออกแบบ3

องค์ประกอบของการออกแบบ (ต่อ)


5. สัดส่วน (Proportion)

      สัดส่วน หมายถึง ความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในตัวของวัตถุเองและความสัมพันธ์เมื่อเทียบเคียงกับวัตถุอื่นสำหรับงานออกแบบที่สัดส่วนมาใช้ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์และเหมาะสมกับรูปร่างนั้นๆและข้อคิดในการนำสัดส่วนมาใช้ในงานออกแบบมีดังนี้

     1. ออกแบบอย่างไรโดยนำสัดส่วนต่างๆมาใช้ให้มีความสัมพันธ์กับช่วงระยะ

    2. พิจารณาขนาดให้สัมพันธ์กับสัดส่วน เป็นกลุ่มและได้ผลตามต้องการ
ชาวกรีกโบราณได้สร้างกฎแห่งความงามขึ้นมาเรียกว่า "สัดส่วนทอง" (Golden Section) ซึ่งสัดส่วนที่กล่าวถึงคือ 2:3 ซึ่งหมายถึง ความกว้าง 2 ส่วน และความยาว 3 ส่วน






ภาพแสดงสัดส่วนทอง
ของรูปสี่เหลี่ยม ที่ยอมรับกันว่าเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ สวยงามในสัดส่วนของรูปสี่เหลี่ยม
ด้วยกันคือ 2:3







พาศนา (2526: 265) ได้แบ่งหลักการจัดสัดส่วนไว้ดังนี้

5.1 การจัดสัดส่วนของรูปร่าง(Figure Proportion) คือ ผู้ออกแบบจะจัดสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆให้สวยงาม และเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและรูปลักษณะของงาน








ภาพของ El Greco 
ชื่อภาพ Martyrdom of Saint Mauritius 
สัดส่วนของรูปร่างคนในภาพ จะมุ่งเน้น
ในเรื่องของความสมจริงของสัดส่วนมนุษย์











5.2. การจัดสัดส่วนของเนื้อที่ (Area Proportion) คือ การจัดสัดส่วนของเนื้อที่เกี่ยวกับการออกแบบ เช่น การออกแบบอาคารมักจะใช้รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมและมีองค์ประกอบอื่นๆของอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมไปด้วย เช่น หน้าต่าง ประตู เพื่อให้เกิดความกลมกลืนและสัมพันธ์กันในทางรูปร่าง






                                                                                   แสดงความสัมพันธ์ของสัดส่วนประตู 
          หน้าต่างที่มีสัดส่วนกลมกลืนกันในเรื่องของรูปร่าง



6. ความสมดุล (Balance)

    ความสมดุล หมายถึง ความเท่ากัน หรือการถ่วงเพื่อให้เกิดการเท่ากัน การเท่ากันนี้อาจจะไม่เท่ากันจริงก็ได้ แต่เท่ากันในความรู้สึกของมนุษย์
    มาโนช (2538: 143-144) กล่าวว่า ในทางศิลปะและการออกแบบเราแทนค่าของก้อนน้ำหนักเป็นภาพที่เห็นด้วยตา เช่น น้ำหนักเป็นเส้น รูปร่าง รูปทรง หรือสี ซึ่งเป็นการรับรู้ได้ทางประสาทตา ดุลยภาพที่เกิดขึ้นนี้มี 3 ลักษณะคือ

6.1 สมดุลที่เท่ากัน(Symmetrical Balance หรือ Formal Balance) เป็นการจัดวางภาพสองข้างที่มีขนาดเท่ากันลงบนพื้นที่ ซึ่งแต่ละภาพจะถูกจัดวางห่างจากศูนย์กลางเท่ากัน จะได้สมดุลที่เท่ากันซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกนิ่งอยู่กับที่ มั่นคง สง่างามน่าเกรงขาม





ภาพแสดงความสมดุลของตัวอาคาร
ที่มีความเท่ากันทั้งสองข้าง หรือเรียกว่า 
สมดุลที่เท่ากัน





6.2 สมดุลที่ไม่เท่ากัน (Asymmetrical Balance หรือ Informal Balance) ภาพสองข้างไม่เท่ากัน โดยข้างหนึ่งมีขนาดมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ทำให้เกิดดุลยภาพที่ไม่เท่ากันซึ่งการหาตำแหน่งเพื่อจัดวางภาพให้เกิดสมดุลแบบนี้ มักนิยมใช้กฎแห่งการชดเชย (Rule of Compensation) และกฎอมตะ (Golden Rule) คือ จะต้องเลื่อนภาพข้างที่มีน้ำหนักมากกว่าเข้ามาใกล้จุดศูนย์กลาง จึงจะทำให้เกิดความสมดุล หรือ ตำแหน่งที่เกิดจากเส้นแบ่งส่วน 3 ส่วน ในแนวตั้งฉาก และแนวนอนตัดกัน คือตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับวางภาพเพื่อให้เกิด ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน




ภาพแสดงถึงความสมดุลที่ไม่เท่ากัน 
และได้นำกฎอมตะ (Golden Rule) มาใช้
เพื่อให้เกิดความงาม ซึ่งจะเห็นได้ว่า
จำนวนวงกลมทางด้านล่างขวามีจำนวนมากกว่า
จำนวนวงกลม 2 วงทางด้านซ้ายบน
ดังนั้นวงกลมส่วนล่างจึงเกาะกลุ่มกัน
และจัดวางเข้าใกล้จุดศูนย์กลาง




6.3 สมดุลรัศมีวงกลม (Radial Balance) คือการสร้างภาพในลักษณะวงกลม มีรัศมีจากจุดศูนย์กลาง จะก่อให้เกิดสมดุลขึ้น และทำให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวโดยมีแกนกลาง










ภาพแสดงรัศมีจากจุดศูนย์กลางทำให้เกิด
รัศมีวงกลม โดยมีแกนกลางหรือจุดเด่นของภาพคือ ลูกโลก



















ภาพแสดงถึงการใช้หลักการสมดุลรัศมี
โดยมีนักเต้นบัลเลย์ชาย หญิง 
เป็นแกนกลางของรัศมี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น