หน้าเว็บ

องค์ประกอบของการออกแบบ2


องค์ประกอบของการออกแบบ (ต่อ)


3. ความกลมกลืน (Harmony)
    ความกลมกลืน หมายถึงการประสานให้กลมกลืน เป็นพวกเป็นหมู่ให้เกิดความเหมาะเจาะสวยงาม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกัน
    วัฒนะ (2527: 111) ได้แบ่งความกลมกลืนในการออกแบบแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ



3.1 การออกแบบให้เส้นมีทิศทางที่กลมกลืนกันไปในทางเดียวกัน(Harmony of Direction) ซึ่งแบ่งออกเป็น
    

- การออกแบบให้เส้นกลมกลืนกันในแนวทแยง (Diagonal Direction)







ภาพแสดงความกลมกลืนกันของเส้นทิศทาง ในแนวทแยงของชั้นโชว์สินค้า ซึ่งเป็นไปในแนวทแยงเหมือนกันหมด
- การออกแบบให้เส้นกลมกลืนกันในแนวราบ (Horizontal Direction)




               ภาพแสดงความกลมกลืนกันทิศทางการวางของเส้นในแนวราบเหมือนกันหมด
 การออกแบบให้เส้นกลมกลืนในแนวโค้ง (Curved Direction)



ภาพแสดงความกลมกลืนของเส้นในแนวโค้งซึ่งในภาพจะมีลักษณะของเส้นขอบตาบนเป็นเส้นแนวโค้งเหมือนกันหมด
3.2 การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยรูปร่าง (Harmony of Shape) คือการออกแบบให้มีรูปร่าง ขนาดใกล้เคียงกัน หรือมีรูปร่างเหมือนกัน แต่ขนาดต่างกัน





ภาพแสดงความกลมกลืนกันด้วยรูปร่างของบอลลูน ซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันหมด จะแตกต่างก็ตรงที่สี



3.3 การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยขนาด (Harmony of Size)






ภาพแสดงความกลมกลืนด้วยขนาด ซึ่งในภาพหมวกพลาสติกที่วางเรียงกันอยู่จะมีขนาดเท่ากันหมดทุกใบ แต่มีสีที่แตกต่างกัน


3.4 การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยสี (Harmony of Colors)






ภาพแสดงความกลมกลืนของสีซึ่งจะมีสีอยู่ในโทนสีเดียวกันหมด จะใช้เทคนิคการลด หรือเพิ่มค่าของสีเท่านั้น

3.5 การออกแบบให้กลมกลืนกันด้วยลักษณะผิว (Harmony of Texture)



ภาพแสดงลักษณะความกลมกลืนกันด้วยผิวสัมผัส 
ซึ่งในภาพจะมีลูกกอล์ฟด้วยกัน 3 ลูก ซึ่งทั้ง 3 ลูกนี้
จะมีลักษณะของผิวสัมผัสที่เหมือนกันทั้งหมด





4. การตัดกัน (Contrast)

    การตัดกัน หมายถึง ความไม่ประสานสัมพันธ์กัน หรือสิ่งที่ตรงข้ามกัน การนำความแตกต่างกันมาใช้ในงานศิลปะ มาใช้อย่างพอเหมาะจะช่วยแก้ปัญหาความน่าเบื่อหน่ายในงานนั้นๆได้ และนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความเบื่อหน่ายแล้วยังช่วยให้เกิดความตื่นเต้น เด่นชัด น่าสนใจขึ้นอีกด้วย การตัดกันจะตรงข้ามกับความกลมกลืน เราสามารถทำให้เกิดความตัดกันในองค์ประกอบได้หลายทาง วัฒนะ (2527: 114) ได้กล่าวไว้ดังนี้
     วัฒนะ (2527: 111) ได้แบ่งการตัดกันในการออกแบบแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ




4.1 การตัดกันด้วยเส้น (Line Contrast)





ภาพแสดงการตัดกันด้วยเส้น ซึ่งในภาพนี้จะมีลักษณะของเส้นต่างๆ
ซึ่งไม่มีความเหมือนกันเลยแม้แต่เส้นเดียว




4.2 การตัดกันด้วยรูปร่าง (Shape Contrast)





ภาพแสดงการตัดกันด้วยรูปร่าง ซึ่งในภาพนี้จะมีลักษณะของหน้าจอโทรทัศน์
ที่เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสนำมาจัดวางรียงๆกัน และมีรูปร่าง วงรีวางไว้ตรงกลาง
ซึ่งทำให้เกิดการตัดกันของรูปร่าง และทำให้รูปทรงวงรี
นี้โดดเด่นขึ้นมาจากรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางเรียงรายกันอีกด้วย

4.3 การตัดกันด้วยรูปทรง (Form Contrast)




ภาพแสดงการตัดกันของรูปทรงในภาพ มีหลอดสีซึ่งมีรูปทรงเหมือนกันหมด แต่จะมีรูปทรงของเมาส์ ที่มีความ แตกต่างออกมาซึ่งก็ทำให้เมาส์เป็นรูป ทรงที่เด่นขึ้นออกมาจากกลุ่มหลอด
4.4 การตัดกันด้วยขนาด (Size Contrast)



ภาพแสดงการตัดกันด้วยขนาด ในภาพจะเป็นรูปรถบัส และรถตู้ที่มีขนาดแตกต่างกันดังภาพ



4.5 การตัดกันด้วยทิศทาง (Direction Contrast)





ภาพแสดงการตัดกันด้วยทิศทาง ซึ่งฝ่ายชายจะหันหน้า 
และชี้ปลายเท้าไปในทิศทางตรงกันข้ามกับฝ่ายหญิง

4.6 การตัดกันด้วยสี (Color Contrast)


ภาพแสดงการตัดกันด้วยสี ในภาพจะใช้สีแดง และสีเขียวซึ่งเป็นสีที่ตรงข้ามกันในวงจรสี การใช้สีตรงข้ามกันในวงจรสีเป็นวิธีการเลือกสีมาให้เกิดความตัดกัน มาโนช (2526: 124) การใช้สีตรงข้ามนี้ ควรใช้สีหนึ่งจำนวน 80ฺ% ส่วนอีกสีตรงข้ามเพียง 20%ของจำนวนสีทั้งหมดของพื้นที่ผลงาน ที่ใช้หลักการของสีตรงข้ามเข้าไปช่วยทำให้งานนั้นดูมีชีวิตชีวาไม่น่าเบื่อ

4.7 การตัดกันด้วยค่าความเข้ม (Value Contrast)


ภาพแสดงการตัดกันด้วยความเข้ม โดยใช้ค่าความเข้มระดับที่ 1 และ 9 จาก Value Keys ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความมืด และความสว่างในพื้นภาพ ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความเข้ม
4.8 การตัดกันด้วยลักษณะผิวสัมผัส (Texture Contrast)




ภาพแสดงการตัดกันของผิวสัมผัส ในภาพวงรี 2 รูปมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น