หน้าเว็บ

ศิลปะขอม

ศิลปะขอมในประเทศไทย

     "ขอม"ชื่อนี้มีที่มาหลายความเชื่อ แต่ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดก็เห็นจะเป็น ชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ได้ใช้เรียกชนชาติ ซึ่งถึงแม้ว่าคนทั่วไปจะเข้าใจว่าขอมคือกัมพูชาในปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วกัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของขอมเท่านั้น

    คำว่า "ขอม" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เขมร" และ "กรอม"(ที่แปลว่า ใต้) เมื่อพูดเร็วเข้า ก็จะกลายเป็น "ขอม" โดยอาณาจักรขอมในอดีตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชา และบางส่วนในลาวและไทย

    สำหรับประวัติศาสตร์ขอม เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 ผ่านการเปลี่ยนแปลงจากอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ เจนละบกและเจนละน้ำ มาสู่ยุคเมืองพระนครอันลือลั่น โดยอายธรรมขอมแบ่งออกเป็นยุคใหญ่ 3 ยุค คือ ยุคก่อนเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที 11-15) ยุคเมืองพระนคร(พุทธศตวรรษที่ 15-18 ) และยุคหลังเมืองพระนคร(หลังพุทธศตวรรษที่ 19 จนสิ้นอาณาจักรขอม)

     จากวันเวลาอันยาวนานทำให้ขอมมีศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ตามแต่ละยุคสมัย อาทิ มหาปราสาทนครวัด นครธม ปราสาทบายน ปราสาทบันทายศรี ที่ปัจจุบันอยู่ในเสียมเรียบ(เสียมราฐ) ประเทศกัมพูชา


สถาปัตยกรรม   

ศิลปะขอมในสถาปัตยกรรมไทย
     จากการที่ขอมได้รับวัฒนธรรมและความเชื่อในศาสนาฮินดูมากจากอินเดีย ผ่านเข้ามาทางการเดินเรือค้าขายสินค้า ทำให้ศิลปะของขอมได้รับการพัฒนามาจากพื้นฐานทางศาสนาฮินดู แม้ว่าต่อมาในบางสมัย ขอมจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธมหายาน ซึ่งทั้งสองศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองตามแต่กษัตริย์ที่นับถือแต่ละศาสนา

     ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของขอม นอกจากจะทำให้มีการพัฒนาด้านงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แล้วยังแผ่อิทธิพลไปในอาณาจักรใกล้เคียงในละแวกอินโดจีน รวมไปถึงอาณาจักรสยามด้วย

     อารยธรรมขอมเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยอาณาจักรเจนละ ซึ่งตรงกับยุคทวารวดีของไทย โดยเข้ามาทางภาคอีสานเป็นแห่งแรก ซึ่งเข้ามาโดยผ่านทางศาสนา ทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน

     หลังจากยุคทวารวดี ต่อมายังยุคสุโขทัย อยุธยา จนมาถึงรัตนโกสินทร์ ก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอม และนำมาผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่นของตัวเอง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด และส่วนที่ปรากฏให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะขอมได้อย่างเด่นชัด คือ

     พระปรางค์ พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับรูปแบบและอิทธิพลโดยตรงจากขอม การสร้างพระปรางค์ของของอยู่บนพื้นฐานความเชื่อในศาสนาฮินดู ความเชื่อเรื่องจักรวาลในศาสนาพุทธและฮินดูมีความคล้ายคลึงกันมาก รูปแบบลักษณะและแผนผังของปรางค์ปราสาทซึ่งเดิมเคยใช้ประดิษฐานเทวรูปหรือศิวลึงค์ในศาสนาฮินดู เมื่อมาเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธแล้ว ก็เปลี่ยนมาใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุแทน และต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็นประธานของวัดในสถาปัตยกรรมไทย

     การสร้างพระปรางค์นั้นเป็นการดัดแปลงมาจากศิลปะขอม หรือเลียนแบบมาจากพระปรางค์โบราณที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย ได้มีการเลียนแบบลายของขอมมาใช้ประดับพระปรางค์ ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบจนกลายเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ในที่สุด
     พระระเบียง ในทางสถาปัตยกรรมไทย พระระเบียงได้รับอิทธิพลมาจากขอม ซึ่งนิยมสร้างล้อมรอบเทวสถาน โดยเฉพาะปรางค์ปราสาท การล้อมรอบอยู่ในลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละด้านตรงกิ่งกลางจะทำเป็นซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่า “โคปุระ” การสร้างระเบียงในวัดต่างๆ นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและได้สืบทอดมายังสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์

     พระระเบียงทั่วไปนิยมสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มาบรรจบกันเป็นวง ทำให้ต้องเกิดเป็นมุมหักข้อศอกที่มุมทั้งสี่ด้าน จึงนิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "พระระเบียงคด" ซึ่งได้ถือเป็นแบบแผนที่นิยมใช้กันในงานสถาปัตยกรรมไทยแทบทุกสมัย

     นอกจากนี้ยังมีส่วนของหน้าบันซึ่งแต่ก่อนใช้ตกแต่งสถูปต่างๆ เช่น พระปรางค์ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นหน้าบันที่ใช้ประดับพระอุโบสถและพระวิหารแทน และได้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ โดยมีการนำเอาศิลปะแบบอื่นๆมาผสมผสานกัน

     อิทธิพลศิลปกรรมขอมทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สามารถพบได้ในวัดบางแห่ง เช่น วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุโขทัย หรือ ปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

     นอกจากสถาปัตยกรรมในวัดแล้ว ศิลปะขอมก็ยังเห็นได้อย่างชัดเจนในปราสาทต่างๆ ที่อยู่บนแผ่นดินไทย สำหรับแหล่งที่คนทั่วไปรู้จักก็คือดินแดนแถบอีสานใต้ ซึ่งในอดีตเมื่อสมัยเมืองพระนคร เป็นเส้นทางจากเมืองพระนครไปถึงยังเมืองวิมาย (หรือเมืองพิมาย) มีการสร้างถนนติดต่อถึงกัน สร้างที่พักคนเดินทาง ศาสนสถานต่างๆ จนทำให้บริเวณนี้เป็นแหล่งของปราสาทขอม โดยปราสาทขอมในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อก็มี อาทิ ปราสาทหินพิมาย(นครราชสีมา) ปราสาทหินพนมรุ้ง(บุรีรัมย์) ปราสาทเมืองต่ำ(บุรีรัมย์) เป็นต้น 


ปราสาทหินพิมาย  นครราชสีมา



ปราสาทหินพนมรุ้ง  บุรีรัมย์




อิทธิพลขอมในภาคกลางและเหนือ

     นอกจากความโดดเด่นของงานศิลปกรรมขอมในดินแดนอีสานใต้ของไทยแล้ว ในแถบภาคเหนือและภาคกลางก็พบศิลปะขอมได้เช่นกัน จากการรับเอาศิลปะขอมผ่านมาทางศาสนาดังที่กล่าวไปแล้ว รวมไปถึงการเลียนแบบสถาปัตยกรรมขอม แล้วนำมาสร้างในแบบที่เป็นของตัวเองของคนท้องถิ่น อาทิ




ปราสาทเมืองสิงห์ ในเขต อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 
      ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในลัทธิมหายาน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยฝีมือของช่างท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอม มีการวางแผนผังตามแบบคติจักรวาลอย่างสมบูรณ์ คล้ายกับแผนผังที่ปราสาทบายนในกัมพูชา ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงและฉาบทับด้วยปูนขาว มีการประดับลายปูนปั้นตามจุดต่างๆ




พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี 
     เป็นปราสาทเขมรศิลปะแบบบายน สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธมหายาน ในช่วงที่เมืองละโว้ขึ้นอยู่กับขอม แต่ในภายหลังได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานของพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ในยุคของสมเด็จพระนารายณ์ สมัยกรุงศรีอยุธยา




วัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย 
      สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นเทวสถานของฮินดู มีการวางผังแบบเดียวกับปราสาทขอมทั่วไป แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาแบบมหายาน และแบบเถรวาทในเวลาต่อมา



วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา


ประติมากรรม

     ประติมากรรมของขอมนั้น หากจะกล่าวโดยรวมแล้ว มักจะเป็นภาพสลับนูนต่ำของขอมในชั้นต้นสลับคล้ายของจริงตามธรรมชาติเหมือนกับภาพสลักในประเทศอินเดีย เช่น บรรดาทับหลังของปราสาทหลังกลางในศาสนสถานหมู่ใต้ที่สมโบร์ แต่ต่อมาก็มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ดังเห็นได้จากปราสาทบากองในสมัยพระโค และที่ปราสาทกระวันในบริเวณเมืองพระนคร ภาพสลักแห่งนี้สลักเป็นรูปพระนารายณ์ และพระลักษณ์ มียืนอยู่เหนือผนังภายในศาสนสถาน แสดงความแข็งกระด้างช่นเดียวกับประติมากรรมลอยตัวในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบนหน้าบันของปราสาททายสรี ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจ เพราะสลักอย่างได้ระเบียบและเต็มไปด้วยความงดงามอ่อนช้อย เช่น ภาพสลักนางอัปสรติโลตตมาที่อยุ่ท่ามกลางอสูรสองตน ปัจจุบันภาพนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศษ และประมาณ พ.ศ ๑๖๕๐-๑๗๐๐ ได้มีภาพสลักขนาดใหญ่ซึ่งแปลกประหลาดอย่างยิ่งที่ระเบียงปราสาทนครวัด เป็นสภาพสลักนูนต่ำขนาดใหญ่ ๘ ภาพสลักอยู่บนระเบียงชั้นที่ ๑ 



ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ บุรีรัมย์



ทับหลัง “ศิวะนาฎราช”ปราสาทศีขรภูมิ สุรินทร์



ภาพแกะสลัก“นางอัปสราถือดอกบัว” ปราสาทศีขรภูมิ สุรินทร์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น