หน้าเว็บ

ศิลปะพม่า

ศิลปะพม่าในประเทศไทย

     ศิลปะพม่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา รวมทั้งจิตวิญญาณและวิถีชีวิตของชาวพม่าด้วย เนื่องจากพม่ายังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด แบบแผนในงานศิลปะจึงปฏิบัติเข้มงวดตามประเพณี และสะท้อนให้เห็นความเชื่อและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า

     ศิลปะพม่าได้ถูกสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ฝ่ายนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ควบคู่ไปกับการนับถือผีสางเทวดา เช่น คติความเชื่อเรื่องผีนัต วิญญาณบรรพบุรุษ และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ศิลปกรรมแสดงปรากฏออกมาสืบเนื่องผสมผสานมาจากแบบหินยานและมหายาน ซึ่งกล่าวได้ว่าศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์มากที่สุด เพราะมีรูปแบบเฉพาะตัวและสร้างขึ้นภายใต้ความศรัทธาอย่างลึกซึ้ง ทั้งความงามทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ศิลปหัตถกรรมหรืองานประยุกต์ศิลป์ต่างๆ จนกล่าวได้ว่าเป็นแดนพุทธศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากแต่ปรากฏในไทยโดยส่วนใหญ่ทางแถบภาคเหนือของไทย


สถาปัตยกรรม

      ในบรรดาประเทศต่างๆ ที่เลือกรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมอินเดียไว้นั้น สถาปัตยกรรมพม่านับเป็นหนึ่งในด้านอาคารก่ออิฐซึ่งเป็นที่นิยมกันตลอดมา อีกประเภทหนึ่งได้แก่อาคารเครื่องไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะแบบมัณฑเลย์(พ.ศ.2400-พ.ศ.2429) อิฐนับเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างอาคารต่างๆ และได้มีการใช้อิฐก่อสร้างกำแพงเมืองรุ่นแรกสุดมาแล้วในยุคโบราณ เช่น เมืองเบกถาโน เมืองฮาลิน เมืองศรีเกษตร เช่นเดียวกับอาคาร ศาสนสถานในเมืองเหล่านั้น ส่วนวัสดุประเภทหินนั้นจะใช้ในกรณีที่เป็นส่วนตกแต่งบางส่วนเท่านั้น สถาปัตยกรรมยุคโบราณของพม่าที่เด่นๆ มีอยู่สองประเภทคือสถูปหรือเจดีย์ และวิหาร
     ในส่วนของงานสถาปัตยกรรมแบบพม่าที่มีอยู่ในไทย มีตัวอย่างดังต่อไปนี้ คือ





     วัดศรีรองเมือง เป็นวัดพม่าอีกวัดหนึ่งในจังหวัดลำปางที่มีความงดงามมาก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าคราวน้อย ตำบลสบตุ๋ย ในเขตอำเภอเมืองลำปาง ตามประวัติความเป็นมาของวัดศรีรองเมืองนั้น กล่าวกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 โดยคหบดี ชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้ในเมืองลำปางโดยใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ 7 ปี ภายในวัดนี้มีทั้งวิหารใหญ่และวิหารน้อย สำหรับวิหารน้อยนั้นมีอยู่ถึง 9 หลังแต่ปัจจุบันวิหารน้อยเหล่านั้นปรักหักพังไปจนหมดสิ้น จึงเหลืออยู่เพียงวิหารใหญ่ ซึ่งเป็นวิหารประธานของวัดเพียงหลังเดียวสำหรับวิหารศรีรองเมืองนี้เป็นอาคาร 2 ชั้น มีหลังคาซ้อนกันแบบพม่า ส่วนที่เป็นชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนบนทำด้วยไม้พระพุทธรูปประธานประดิษฐานอยู่ที่เรือนยอด ซึ่งตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางของอาคาร












     วัดศรีชุม สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2433 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยคหบดีชาวพม่าชื่อจองตะกาอูโย ร่วมกับลูกเขยชื่ออูหม่องยี และแม่เลี้ยงป้อม บริบูรณ์ตั้งอยู่ที่ถนนทิพย์วรรณ ตำบล สวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นวัดที่สวยงามทางด้าน ศิลปะของพม่ามีพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นพระบรมธาตุสีทองเป็นศิลปะแบบพม่าและมอญ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อันเชิญจากพม่า เมื่อพ.ศ.2449 วัดศรีชุมเป็นวัดที่กรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2524 น่าเสียดายเมื่อวิหารเดิมถูกไฟไหม้เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2535 ได้รับความเสียหายมาก เหลือเพียงความงามที่สวยงามวิจิตรพิสดารที่เน้นศิลปะในด้านการแกะสลักไม้สัก สลักเป็นลายลวดลายการขดและลายเครือเถาห้อมย้อยลงมาคล้ายม่านของทางขั้นบันไดทั้งสองข้าง ที่มีหลังคายื่นออกมาคลุมที่หน้าบันไดเพียงเท่านั้น วิหารหลังนี้จึงต้องสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม









     วัดม่อนจำศีล ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง คือวัดแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ ไว้ในวิหารด้านหลังพระธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ วัดม่อนจำศีลเป็นวัดสถาปัตยกรรมพม่า ถูกปล่อยร้างมานาน ประวัติการก่อสร้างจึงไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ยังโชคดีที่มีการค้นพบประวัติบางส่วนของวัด เป็นวัดที่มีความงดงามมาก มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ทั้งหมด 3 องค์ เป็นวัดที่ได้รับการบูรณะอย่างจริงจัง จากท่านเจ้าอาวาสพระครูพิศาลสุภัทรกิจ ซึ่งเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง ซึ่งทุกคนจะ เรียกท่านว่า "ตุ๊ลุง" ตุ๊ลุงเป็นพระที่ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมในวัด และให้การศึกษาฟรีแก่สามเณร โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด หลาย ๆ คนจบที่นั่นและเรียกได้ว่าอยู่รอดเป็นคนมาจนทุกวันน ี้เพราะตุ๊ลุงเป็นพระที่เก่งด้านวิปัสสนากรรมฐานและด้านพระอภิธรรม ศิษย์ของตุ๊ลุงเรียกได้ว่าจะต้องได้เรียนพระอภิธรรมทุกคน ส่วนมากจะจบชั้นจูฬอภิธรรมิกตรีเป็นอย่างต่ำ  วัดม่อนจำศีล เป็นวัดที่ประดิษฐาน “พระเจ้าทันใจ” ซึ่งศักดิ์สิทธิ์มาก เรียกว่า หากอยู่ในศีลในธรรม ขอสิ่งใดได้สิ่งนั้นแทบไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีหลายคนที่ใกล้เกลือกินด่าง “พระเจ้าทันใจ” เป็นพระพุทธรูปที่ใช้เวลาสร้างได้สำเร็จภายใน 1 วัน กล่าวคือ จะเริ่มพิธีตั้งแต่หลังหกทุ่มเป็นต้นไป จนสามารถสร้างองค์พระได้สำเร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน (ก่อนเวลา 18.00 น.) ของวันถัดไป ถ้าสร้างไม่เสร็จถือเป็นพระพุทธรูปธรรมดาทั่วไป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปนั้น มักจะมีขั้นตอนและพิธีกรรมที่ละเอียดซับซ้อน การสร้างพระพุทธรูป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้สำเร็จภายใน 1 วัน จึงถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระพุทธานุภาพ และอานุภาพแห่งเทพยดาที่บันดาล ให้พิธีกรรมสำเร็จโดยปราศจากอุปสรรค ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงถือว่าพระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปที่จะบันดาลความสำเร็จให้แก่ผู้อธิษฐานขอพรได้อย่างทันอกทันใจ การสร้างพระเจ้าทันใจนั้น มีลักษณะที่แปลกกว่าการสร้างพระพุทธรูปอื่น ๆ กล่าวคือจะมีการบรรจุหัวใจพระเจ้าคล้ายกับหัวใจของมนุษย์ ตลอดจนการบรรจุวัตถุมงคลสิ่งของมีค่าไว้ในองค์พระพุทธรูปด้วย ละในช่วงระยะเวลาที่กำลังปั้นจะต้องมีการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ตลอดทั้งคืนจนสว่างด้วย “พระเจ้าทันใจ” จะมีหลายองค์ในวัดทางภาคเหนือ 
ประติมากรรม

     งานด้านประติมากรรมของพม่าโดยส่วนใหญ่ในไทยจะปรากฏเป็นพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปแบบพม่านั้นแสดงออกในลักษณะของพระพุทธรูปทรงเครื่องเป็นสำคัญ พระพุทธรูปทรงเครื่องเหล่านี้สร้างขึ้นตามทัศนคติ พระศรีศากยมุนีในคราวจำแลงเป็น พระมหาจักรพรรดิ เพื่อโปรดพระมหาชมพูตามความในมหาชมพูบดีสูตร เนื่องพระมหาชมพูเป็นกษัติรย์ที่มีทิฐิมานะมากจึงจำต้องจำแลงมาในลักษณะของพระมหาจักรพรรดิที่ทรงเครื่องราชทับจีวรอยู่
     คตินี้จะมีเฉพาะเอเชียอาคเนย์เท่านั้น พระพุทธรูปทรงเครื่องดังกล่าวพบในศิลปพม่าแบบเมืองพุกาม ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ด้วยการแสดงพระพุทธรูปทรงเทริด ทรงกรองศอรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่เครื่องทรงเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปแบบอินเดียแบบปาละทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองพุกามเท่าใหร่นัก
      ตัวอย่างพระพุทธรูปของพม่าในไทยมีดังต่อไปนี้ คือ




พระพุทธรูปพม่าปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ วัดศรีชุม จังหวัดลำปาง





พระพุทธรูปพม่าปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ วัดหัวเวียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น