หน้าเว็บ

องค์ประกอบของการออกแบบ4

องค์ประกอบของการออกแบบ(ต่อ)


7. การเน้น (Emphasis)
   การเน้นเพื่อให้เกิดจุดเด่นสามารถเน้นด้วยรูปร่าง เน้นด้วยสี ฯลฯ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เกิดความสนใจแก่ผู้พบเห็นได้    

           





แสดงการเน้นที่ศูนย์กลางของภาพและใช้การตัดกันด้วยคุณค่าของแสงและเงาทำให้ภาพดูเด่นชัดขึ้น                                       



 
   วัฒนะ (2527: 119) ได้แบ่งระดับจุดสนใจในงานออกแบบเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ
    1. จุดสำคัญของงาน (Dominant)
    2. จุดสำคัญรอง (Subdominant)
    3. จุดสำคัญย่อย (Subordinant)

  การออกแบบที่นำหลักการเน้นมาใช้จะต้องพิจารณาถึงการจัดคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปทรง รูปร่าง ช่วงระยะ เส้น สี และพื้นผิวในงานออกแบบ

     นพวรรณ (2540: 181-184) ได้กล่าวถึงวิธีการเน้นจุดสนใจซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ
    7.1 การเน้นด้วยการตัดกัน (Emphasis by Contrast) จุดสนใจมีผลมาจากองค์ประกอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความแตกต่างออกไปจากสิ่งอื่น สิ่งนั้นเป็นการดึงดูดความสนใจด้วยความแปลกของตัวเอง ซึ่งมีทางเป็นไปได้มาก เช่น
  # เมื่อองค์ประกอบเป็นแนวตั้งถ้ามีสิ่งที่เป็นแนวนอนมาขัดสิ่งนั้นจะเป็นจุดสนใจ
  # เมื่อองค์ประกอบส่วนใหญ่มีรูปร่างไม่แน่นอน ถ้ามีรูปที่เป็นเรขาคณิตมาประกอบรูปนั้นก็จะกลายเป็นจุดสนใจ
  # ในการออกแบบที่มีสีเรียบๆ ส่วนที่มีรายละเอียดมากที่สุด และมีสีหลายสี ส่วนนั้นจะเป็นจุดเน้นขึ้นมา
  # เมื่อองค์ประกอบส่วนอื่นๆของภาพมีขนาดใกล้เคียงกัน ถ้ามีส่วนไหนใหญ่ส่วนนั้นก็จะกลายเป็นจุดสนใจในทันที
  # เมื่อรูปทรงธรรมชาติถูกทำให้ผิดรูปร่างไป รูปที่พอจะเหลือเค้าเดิมบ้างก็จะกลายเป็นจุดสนใจ

  7.2 การเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation) การเน้นด้วยการขัดกันเป็นเทคนิคของการเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยว เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยกออกมาจากกลุ่ม สิ่งนั้นจะเป็นจุดสนใจ เพราะเมื่อแยกออกไปสิ่งนั้นก็จะดูสำคัญขึ้นมา นี่เป็นการขัดกันอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นในเรื่องของตำแหน่งที่ว่าง
    การวางจุดสนใจไว้กลางภาพถือเป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบ แต่ถ้าผู้ออกแบบวางจุดสนใจไว้ใกล้ขอบภาพ จะมีแรงดึงดูดสายตาของผู้ดูให้ออกมาดูภาพมากกว่า

                 


                                                      ภาพแสดงการใช้เทคนิคการเน้นด้วยการแยกอยู่โดดเดี่ยว



    7.3 การเน้นโดยการวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) การวางตำแหน่งในภาพโดยการนำองค์ประกอบอื่นๆชี้มาที่จุดเดียวกัน ความสนใจก็จะมุ่งมาที่จุดนั้น ดังภาพด้านล่าง เป็นภาพที่มีรูปทรงต่างๆ กระจายออกเป็นรัศมีเป็นแฉกๆ กระจายออกจากศูนย์กลาง ซึ่งบริเวณจุดศูนย์กลางก็มีรูปทรงเช่นเดียวกับรูปทรงอันอื่น แต่กลายเป็นการเน้นเนื่องจากตำแหน่งที่ว่าง ไม่ใช่เพราะความแตกต่างของรูปทรง
    การเน้นไม่จำเป็นต้องเด่นชัดเหมือนตัวอย่าง แต่ควรคำนึงถึงไว้เรื่องหนึ่งคือ เมื่อใดที่วางจุดสนใจไว้แล้ว จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้มีสิ่งอื่นมาดึงดูดความสนใจออกไปอีก เพราะจะทำให้สับสนได้








ภาพแสดงการเน้น
ด้วยการวางตำแหน่ง
                                                                      











8. เอกภาพ (Unity)
    เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกแยกกัน หรืออยู่รวมกันได้ดีระหว่างองค์ประกอบ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง ซึ่งสายตามองเห็น และรู้สึกได้ว่ามีความกลมกลืนต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    การสร้างงานออกแบบให้มีเอกภาพมี 4 วิธี ซึ่งนพวรรณ (2540: 194-206) กล่าวไว้ดังนี้

    8.1 นำมาใกล้ชิดกัน (Proximity) คือ การนำเอาองค์ประกอบที่อยู่กระจัดกระจายนำมาจัดให้อยู่ใกล้ชิดกันทำให้เหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กัน


      
8.2 การซ้ำ (Repetition) คือ การจัดองค์ประกอบในส่วนต่างๆให้ซ้ำกัน สัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบที่ซ้ำกันอาจเป็นได้ทั้งสี รูปร่าง ผิวสัมผัส ทิศทาง หรือมุม ดังภาพตัวอย่างนี้   




ภาพแสดงส่วนประกอบของรูปทรง 2 ชนิด 
คือ สามเหลี่ยม ที่อยู่บนสี่เหลี่ยมเหมือนกันทั้งหมด
และมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน แต่รูปทรงทุกรูปยังดูเหมือนมีความสัมพันธ์กัน
 
 
    8.3 การกระทำต่อเนื่อง (Continuation) คือ เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ โดยใช้ความต่อเนื่องของ เส้น มุม หรือทิศทาง จากรูปร่างหนึ่งไปอีกรูปร่างหนึ่ง รูปร่างจะดูไม่ล่องลอยอยู่อย่างสับสน แต่จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอน และก่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวดังภาพ

 8.4 ความหลากหลาย (Variety) ถึงแม้ว่าเอกภาพจะเป็นการออกแบบที่มีความกลมกลืนกันขององค์ประกอบต่างๆแต่การสร้างภาพให้มีเอกภาพมากเกินไปจะทำให้ภาพนั้นเกิดความน่าเบื่อ เช่นภาพกระดานหมากรุก แต่เมื่อเรานำรูปทรงต่างๆ ซึ่งอาจจะซ้ำกันแต่ขนาดต่างกัน สีก็อาจจะซ้ำกันได้แต่ต่างระดับสี ไม่ใช่การซ้ำแบบธรรมดาแต่เป็นความหลากหลายที่แตกต่างกัน เช่นภาพของมอนดรีอัน ชื่อจังหวะลีลาของเส้นตรง 





   
ภาพกระดานหมากรุก
นำวิธีการใกล้ชิดมาใช้
และซ้ำกันของรูปร่าง
อย่างสม่ำเสมอทำให้ดูน่าเบื่อ







                                                                                  

     



                                                                                 ภาพของมอนดรีอัน ชื่อจังหวะลีลาของเส้นตรง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดต่างๆ ความทึบของเส้นสีดำและการใช้สีในบางรูปรวมทั้งความถี่ห่างของเส้นในแนวตั้ง และแนวนอนเป็นจังหวะลีลาที่น่าสนใจโดยนำหลักของเอกภาพ ความหลากหลายมาใช้
 

 



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น